The Shining: นอกเรื่องจากนิยาย จากผี กลายเป็น วิปริต

on วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Stephen King ทุกเล่มที่ อ่านทั้งบางเล่มที่มีคนแปลและบางเล่มที่ต้องนั่งแปลเองนั้น ล้วนแต่สร้างความสยองจากเนื้อเรื่องและบรรยากาศที่บรรยาย แม้ว่าบางเล่มและบางเรื่องนั้นแทบก็ไม่ใช่เรื่องผี แต่สิ่งที่ King เสนอให้รู้สึกนั้นคือ สยองจากความรู้สึกในเบื้องลึกของจิตใจคน


ไม่นานนักในผลงานหนังชุุดของ Stanley Kubrick เจ้าพ่อหนังปรัชญา ก็ได้หยิบนิยายเรื่องนี้มาสร้างเป็นภาพยนต์แต่ทว่าเนื้อเรื่องที่ อ่านนั้น แตกต่างกัน...โดยส่วนตัวไม่ถึงกับแย่หรอกครับออกจะดีเลยแหละแต่ดีในอีกแบบ [เปรียบเทียบเหมือนกับว่าคุณชอบกินข้าวมันไก่ แต่วันนึงเค้าเสิร์ฟผิดเค้าเสิร์ฟข้าวหมกไก่มาให้คุณลองกินดูก็ อร่อยนี่หว่า ประมาณนั้น]

เรื่องมีอยู่ว่า พ่อ แม่ ลูก 3 คน โดยมี แจ็ค ทอร์เรนซ์ ผู้เป็นพ่อที่มีอาการติดเหล้าและมีประวัติทำร้ายลูกชาย ได้รับงานไปเฝ้าโรงแรมโอเวอร์ลุคตอนมันปิดภาคฤดูหนาว เพราะหน้าหนาวโรงแรมนั้นจะถูกกลบทางเข้าด้วยหิมะ ทำให้ไม่มีแขก 3 คนพ่อแม่ลูกเลยอาศัยไปรับค่าจ้างเฝ้า และเรื่องราวสยองที่ปรากฏในโรงแรมนั้นก็เกิดขึ้น


อาจจะเพราะผีที่อยู่ในโรงแรม หรือ ตัวแจ็คผู้เป็นพ่อเองที่ทำให้เกิด อาการวิกลจริต ได้ยินเสียงกระซิบให้ ฆ่าลูกชายตัวเอง เรื่องสยองจึงได้บังเกิดเมื่อ ตลอดเวลาทั้งเรื่องหลังจากเข้ามาดรงแรมนั้น คือฉากการไล่ล่าของพ่อ และแากการวิ่งกระเต็งลูกหนีของเมียหรือ ผู้เป็นแม่


ภาพข้างบนผีที่ปรากฏในความคิดของแจ็ค และเรื่องราวก็ไปสู่บทสรุปอันน่าขนลุก ในฉากจบหลอนๆบนรูปถ่ายข้างห้องของโรงแรม

ส่วนตัวแล้วภาพยนต์เรื่องนี้ทำได้ดีในเรื่องควมกดดันของอารมณ์คนดู แม้จะมีนักแสดงน้อยมากๆ และไม่มีฉากสยองแหวะเลือดสาดเลย อีกทั้งบรรยากาศในโรงแรมออกจะสว่างซะด้วยซ้ำแต่ก็ยังทำให้เราผวา ไปกับผู้เป็นพ่อกับฉากคลาสสิคเดินหิ้วขวาน เอ่ยเสียงเรียกลูกชาย



และผี ? ในหนังที่สั่งให้แจ็คทำนั้น มันคือผีจริงๆหรือเปล่า... หนังให้เราคิดเป็นคำตอบเหมือนจะเป้นปรัชญาว่าบางครั้งที่คนเราทำอะไรพลาดไป ไม่ใช่มัวแต่โทษผีสางนางไม้ ดูที่ตัวเราซะก่อน เพราะอาการวิกลจริตของแจ็ค อาจจะเปรียบได้กับ "สติ" หากไม่มีสติแล้วทำอะไรลงไปก็ไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้